วิทยุสมัครเล่นวิทยุสื่อสารสายอากาศ

สายอากาศสุธี 1 2 3 และไส้กรอกหลวง สายอากาศพระราชทาน

ในช่วงต้นรัชสมัย ประเทศไทยยังขาดแคลนเทคโนโลยีขั้นสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (HS1A) ได้ทรงหาหนทางพึ่งพาตนเอง พัฒนาอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อขจัดปัญหาการติดต่อกับพื้นที่ห่างไกล

ในขบวนเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในระยะแรก พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวทรงสังเกตุคลื่นวิทยุรบกวนกันระหว่างเครือข่ายทำให้ไม่อาจติดต่อทางวิทยุสื่อสารได้ ทรงมีพระราชดำริว่าสายอากาศน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญ และพระองค์ทรงอาศัยพื้นฐานทางวิทยุศาสตร์ที่เคยศึกษา ได้ทรงค้นคว้าเพิ่มเติมและมีพระราชปฏิสันถารกับผู้รู้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มต้นทดลองงานสายอากาศด้วยพระองค์เอง ปรับค่าต่างๆ จนได้สายอากาศที่มีประสิทธิภาพทั้งในการส่งและการรับ สายอากาศที่ดีที่สุดที่ทรงทดลองได้นั้นนอกจากสัมพันธืกับเครื่องรับส่งวิทยุ และสายส่งแล้ว ยังมีค่าสะท้อนกลับของคลื่นวิทยุ หรือที่เรียกว่า Standing Wave Ratio (SWR) ที่ได้มาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานสากลซึ่งนักวิทยุสื่อสารได้ปรับใช้กันทั่วไป

เมื่อ 40 กว่าปีก่อน ราคาเครื่องรับส่งวิทยุเมื่อเทียบกับงบประมาณของประเทศแล้ว มีมูลค่าสูงแต่เป็นสิ่งจำเป็นในงานพัฒนาประเทศและภารกิจด้านความมั่นคง หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงค้นคว้าและทดลองสายอากาศด้วยพระองค์เองเป็นเบื้องต้นแล้ว จึงมีพระราชดำริว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าจะสามารถพัฒนาขึ้นได้เองภายในประเทศ

Antenna Suthi

งานพัฒนาสายอากาศซึ่งเป็นพระราชดำริที่ได้ริเริ่มครั้งแรกของโลกจึงได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 ได้พระราชทานให้กองทัพและนักวิทยาศาสตร์ไทยร่วมกันค้นคว้าวิจัย

ท่ามกลางแดดจัดยามบ่ายพระมหากษัตริย์ประทับบนดาดฟ้าพระตําหนักจิตรลดารโหฐานพระราชทานกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับสายอากาศตามพระราชประสงค์จำนวนกว่า 20 รายการ แก่ ดร.สุธี อักษรกิตติ์ จึงได้ออกแบบและสร้างสายอากาศถวาย ตามพระราชประสงค์ จนกระทั่งสายอากาศเหล่านั้นได้รับพระราชทาน ได้แก่

สายอากาศสุธี ๑ ( Antenna Suthi 1)
เป็นสายอากาศ สำหรับเครื่องวิทยุสื่อสารผ่านความถี่สูงม­าก สามารถรับส่งได้ไกล หาทิศทางขณะติดต่อได้ สามารถต่อพ่วงกับวิทยุได้หลายเครื่องในเวล­าเดียวกัน และสูญเสียกำลังส่งขณะกระจายคลื่น ได้บ้างแต่ให้น้อยที่สุด และพระราชทานชื่อสุธี ๑ นี้ สร้างเสร็จในปี ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ในงานสื่อสารเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาสา­ธารณภัยต่างๆ ทั้ง อัคคีภัย อุทกภัย รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการบรรเทาวิกฤตการณ์ท­างการเมืองในปี ๒๕๑๖

สายอากาศสุธี ๒ ( Antenna Suthi 2)
เพื่อให้สามารถพัฒนาประสิทธิภาพของวิทยุสื­่อสาร จึงมีพระราชประสงค์ ให้พัฒนาสายอากาศที่สามารถรับส่งสัญญาณระห­ว่างพระตำหนักจิตรลดารโหฐานและพระตำหนักภู­พิงคราชนิเวศน์ สามารถรับสัญญาณจากเครื่องรับส่งวิทยุกำลั­งไม่เกิน ๑๐ วัตต์ ในระยะทางกว่า ๖๐๐ กิโลเมตร ได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อต้นปี ๒๕๑๗

สายอากาศสุธี ๓ – ๔ ( Antenna Suthi 3-4)
สายอากาศสุธี ๓ และ สุธี ๔ ที่เกิดจากพระราชดำริให้พัฒนาเพื่อให้การส­ื่อสาร มีประสิทธิภาพสูงสุด สัญญาณไม่ขาดหายแม้ในสภาพอากาศแปรปรวน พระราชทานแบบให้เปล่าแก่ทางราชการ ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงใช้เป็นกิจการรักษาพยาบาลทางไกลของมูลนิธิ พอ.สว. ด้วย

รูปตัวอย่างสายอากาศ

Antenna Suthi 2
สายอากาศสุธี 2 ขอบคุณภาพจาก HS3PMT

สายอากาศไส้กรอกหลวง ( Royal Sausage )

ไส้กรอกหลวง ( Royal Sausage )
เนื่องจากสายอากาศสุธี ๒ มีขนาดใหญ่ไม่เหมาะใช้งานในถิ่นทุรกันดาร จึงมีพระราชดำริให้พัฒนาสายอากาศขึ้นอีกแบ­บหนึ่ง ที่ใช้ง่ายสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลโดยเฉพา­ะในพื้นที่ท่ามกลางป่าเขา พระราชทานชื่อว่า ” ไส้กรอกหลวง ” เป็นสายอากาศซึ่งมีรูปร่างเหมือนไส้กรอกอี­สาน พัฒนาขึ้นจากสายเคเบิลนำสัญญาณธรรมดาโดยนำ­มาวงเป็นวงกลมต่อกัน ใช้สาย coaxial มาบัดกรีต่อกันดังรูป จะใช้ความถี่ไหนก็คำนวนความยาวเอาเองนะครับ

 

สำหรับรูปภาพหรือสูตรของสายอากาศพระราชทานแต่ละอันนั้นหาข้อมูลค่อนข้างยาก ถ้ามีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมผมจะนำมาเพิ่มในบทความนี้ให้อีกครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *