วิทยุ CB คืออะไร การใช้เครื่องวิทยุ CB ให้ถูกกฎหมาย
วิทยุ CB คืออะไร การใช้เครื่องวิทยุ CB (CITIZEN BAND) ให้ถูกกฎหมาย
วิทยุ CB คืออะไร ใช้งานอย่างไร
วิทยุ CB (CITIZEN BAND) คือวิทยุสื่อสารคลื่นความถี่ประชาชน โดยประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้อย่างอิสระ แต่ก็มีรายละเอียดในเรื่องของกฎหมายที่เราควรรู้ ดังนี้
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้อนุญาตให้ประชาชนใช้เครื่องวิทยุ ซีบี (CB) ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ต้องผ่านการสอบ ดังนี้
เครื่องวิทยุ CB ย่านความถี่ 78 MHz เครื่องสีเหลือง
- ความถี่ใช้งาน 78.0000 – 78.9875 MHz
- กำลังส่งไม่เกิน 1 วัตต์, 5 วัตต์ และ 10 วัตต์
เครื่องวิทยุ CB ย่านความถี่ 245 MHz เครื่องสีแดง
- ความถี่ใช้งาน 245.0000 – 245.9875 MHz
- กำลังส่งไม่เกิน 1 วัตต์, 5 วัตต์ และ 10 วัตต์
จะใช้วิทยุสื่อสารต้องมีใบอนุญาต
สำหรับการใช้งานวิทยุ CB ผู้ใช้จะต้องยื่นคำขอใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม หรือตั้งสถานีวิทยุคมนาคม แล้วแต่กรณี ต่อสำนักงาน กสทช. เมื่อได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถใช้เครื่องวิทยุสื่อสาร CB ได้
ทั้งนี้เครื่องวิทยุดังกล่าวต้องเป็นเครื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็คือมีหมายเลขทะเบียนวิทยุคมนาคมที่ออกให้โดย กสทช. นั่นเอง
เอกสารหลักฐานในการยื่นขอใบอนุญาต
1. ใบอนุญาตให้มี/ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
- แบบคำขอใบอนุญาต (แบบ ฉก.2)
- รหัสผู้ได้รับใบอนุญาต
เอกสารหลักฐานของผู้ยื่นคำขอ ตามกรณีดังนี้ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรที่ราชการออกให้ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน (กรณีบุคคลธรรมดา)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 90 วัน (กรณีนิติบุคคล)
- รายละเอียดของเครื่องวิทยุคมนาคม
2. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
- แบบคำขอใบอนุญาต (แบบ ฉก.2)
- รหัสผู้ได้รับใบอนุญาต
- รายละเอียดการได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่มีความประสงค์จะตั้งสถานี ได้แก่ เลขฉบับที่และวันที่ของใบอนุญาต
- รายละเอียดของสถานที่ที่ตั้งสถานีวิทยุ (ประจำที่/ยานพาหนะ)
- สำเนาเอกสารหลักฐานแสดงที่ตั้งสถานีวิทยุ เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนยานพาหนะ ใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน โฉนดที่ดินหรือหนังสือยินยอมให้ตั้งสถานีวิทยุคนาคม เป็นต้น
หมายเหตุ
- เมื่อได้รับใบอนุญาตในครั้งแรกแล้วท่านจะได้รับรหัสผู้ได้รับอนุญาต เช่น xxxxxx-xx จะเป็นรหัสประจำตัวของท่านที่จะนำมาใช้ในการขอใบอนุญาตในครั้งต่อไป
- ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานของผู้ยื่นคำขอเช่นเดียวกับการยื่นคำขอใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ยื่นคำขอสำหรับการยื่นคำขอในครั้งต่อไป
- กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องเตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจแนบมาพร้อมกับหนังสือมอบอำนาจทุกครั้งที่ยื่นคำขอ
อัตราค่าธรรมเนียมและอายุของใบอนุญาต
ใบอนุญาตให้มีเครื่องวิทยุคมนาคม
- ฉบับละ 200 บาท
- มีอายุ 1 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
- ฉบับละ 500 บาท
- มีอายุตลอดอายุของเครื่องวิทยุคมนาคม
ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
- กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ ฉบับละ 500 บาท
- กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ ฉบับละ 1000 บาท
- มีอายุตลอดระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
โทษตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีความผิดและต้องระวางโทษ ดังนี้
- ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้า ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
- ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดนไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ