กิจกรรมนักวิทยุสมัครเล่น

CQ World Wide VHF Contest 2013 การแข่งขันวิทยุสมัครเล่นระดับโลก วันที่ 21-22 กรกฎาคม

CQ World Wide VHF Contest 2013

ขอเชิญชวนนักวิทยุสมัครเล่นทุกท่านเข้าร่วมการแข่งขันการติดต่อสื่อสารทางวิทยุสื่อสารย่านความถี่ VHF ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในรายการ CQ World Wide VHF Contest 2013

การแข่งขันในรายการนี้ได้รับการสนับสนุนโดยนิตยสาร CQ ของสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์ (RAST) และนิตยสาร 100 วัตต์

กำหนดการแข่งขัน

  • วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 01.00 น.
  • สิ้นสุดในวันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2556 เวลา 04.00 น.

วัตถุประสงค์

รายการ CQ WW VHF Contest จัดแข่งขันขึ้นพร้อมกันทั่วโลกเพื่อให้นักวิทยุสมัครเล่น ได้ฝึกฝนจนเกิดทักษะ ความสามารถในการติดต่อสื่อสารย่าน VHF และต้องติดต่อสถานีต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่จำกัด 27 ชั่วโมง

และยังเป็นการประชาสัมพันธ์การติดต่อสื่อสารย่าน VHF ให้เป็นที่รู้จักและเป็นการศึกษาการแพร่กระจาย คลื่นในระยะเวลาต่าง ๆ ในแต่ละปี นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมของสถานีสำหรับภาวะฉุกเฉินด้วย

ย่านความถี่ที่ใช้แข่ง  (Bands)

  • ย่าน 2 meters ความถี่ 144-146 MHz
  • ย่าน 6 meters ความถี่ 50-54 MHz

สำหรับความถี่ 144-146 MHz. ให้ใช้ความถี่ตามแบนด์แพลนของประเทศไทย ห้ามออกอากาศในช่องความถี่ติดต่อสะท้อนดวงจันทร์, ความถี่ช่องเรียกขาน, ความถี่ช่องแจ้งเหตุฉุกเฉิน, ความถี่รีพีทเตอร์ ทั้งรับและส่ง, ความถี่ Digital , ความถี่ Echolink และ ความถี่สำหรับติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม

ประเภทของการแข่งขัน (Class of Competition)

ผมลองรวบรวมจากปีที่แล้วมาให้นะครับ แต่ไม่ทราบปีนี้จะเหมือนกันไหม ยังไงก็ใช้ดูอ้างอิงคร่าวๆ ได้ และควรทราบไว้ว่าทุกประเภทของการแข่งขันจะต้องตั้งสถานีออกอากาศห่างกัน มีรัศมีอย่างน้อย 500 เมตร

  1. Single-Op All Band คือการแข่งขันประเภทเดี่ยว ใช้ Operator คนเดียวตลอดการแข่งขัน ใช้ความถี่ออกอากาศทั้ง 2 ย่านความถี่ คือ ย่าน 2 meters และ ย่าน 6 meters และต้องใช้เครื่องออกอากาศเพียงเครื่องเดียว (one Signal) และต้องเป็นสถานีเดียวกันตลอดการแข่งขันเท่านั้น
  2. Single-Op Single Band คือการแข่งขันประเภทเดี่ยว โดยใช Operator คนเดียวตลอดการแข่งขัน แต่จะใช้ความถี่ย่านเดียวตลอดการแข่งขัน คือ ย่าน 2 meters และ ย่าน 6 meters  ต้องใช้เครื่องออกอากาศเพียงเครื่องเดียว (one Signal) และต้องเป็นสถานีเดียวกันตลอดการแข่งขันเท่านั้น
  3. Single-Op All Band QRP คือการแข่งขันประเภทเดี่ยว โดยใช้ Operator คนเดียวตลอดการแข่งขัน ใช้ความถี่ออกอากาศทั้ง 2 ย่านความถี่ คือ ย่าน 2 meters และ ย่าน 6 meters ต้องใช้เครื่องออกอากาศเพียงเครื่องเดียว (one Signal) และต้องเป็นสถานที่เดียวกันตลอดการแข่งขันเท่านั้น โดยไม่จำกัดสถานที่ออกอากาศ ไม่ว่าจะเป็นสถานีที่บ้านหรือสถานีชั่วคราว (Portable) ในที่ต่าง ๆ แต่ต้องใช้กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ หรือน้อยกว่า ตลอดการแข่งขัน
  4. Hilltopper (หรือ Single-Op QRP Portable) คือการแข่งขันประเภทเดี่ยว โดยใช้ Operator เพียงคนเดียวตลอดการแข่งขันโดยออกอากาศจากสถานที่ต่าง ๆ และใช้กำลังส่ง QRP คือไม่เกิน 10 วัตต์ สามารถใช้ความถี่ได้ทั้งย่าน 2 Meters (144-146 MHz) และ 6 Meters (50-54 MHz) ต้องออกอากาศไม่เกิน 6 ชั่วโมงติดต่อกันตลอดการแข่งขันเท่านั้น ซึ่งการแข่งขันประเภทนี้เหมาะสำหรับแฮมที่ชอบความท้าทาย ชอบการออกอากาศแบบ Portable โดยไม่ต้องการหมกมุ่นอยู่กับการแข่งขันตลอดรายการสามารถออกอากาศจากสถานที่ ใดก็ได้ไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นหมู่เกาะ ภูเขา ทะเลการแข่งขันประเภทนี้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเสาะแสวงหา Grid Locator ที่ยาก ผู้เข้าร่วมแข่งขันประเภทนี้ต้องใช้สัญญาณเรียกขานของท่านแล้วตามด้วย /p เช่น HS3LZX/p และไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับแหล่งพลังงานที่ใช้และในการแข่งขันประเภทเดี่ยว (Single-Op) ในประเภท 1-4 ไม่อนุญาตให้มีผู้ช่วยก่อนการแข่งขัน ระหว่างแข่งขัน และสิ้นสุดการแข่งขันในทุกกรณี ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำงานเพียงคนเดียวเท่านั้นตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการ แข่งขัน ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันประเภทเดี่ยวให้ช่วยเหลือหรือสนับสนุน สิ่งต่าง ๆ ตลอดการแข่งขัน
  5. Rover station คือการออกอากาศจากสถานีที่เคลื่อนที่ได้ เช่น รถยนต์ , รถไฟ , เรือ หรือ เครื่องบิน เป็นต้น โดยใช้ Operator ไม่เกิน 2 คน ตลอดเวลา สามารถใช้ความถี่ได้ทั้งย่าน 2 Meters และ 6 Meters การแข่งขันจะต้องเปลี่ยนตำบลที่ตั้ง Grid locator อย่างน้อย 1 Grid locator ผู้เข้าร่วมการแข่งขันประเภทนี้ต้องสัญญาณเรียกขานของท่านแล้วตามด้วย / R เช่น HS3LZX/R เป็นต้น
    สถานี Rover เมื่อเปลี่ยน Grid locator สามารถติดต่อสถานีเดิมที่เคยติดต่อได้แล้วได้อีกครั้งหนึ่งและถือว่าเป็นคน ละสถานีกับ Grid locator เดิม (นับคะแนนได้เมื่อ Grid ไม่ซ้ำกัน)
  6. Multi Op. คือการแข่งขันประเภททีมโดยใช้ Operators หลายคน สามารถใช้ความถี่ได้ทั้งย่าน 2 Meters และ 6 Meters ใช้สัญญาณเรียกขานของหัวหน้าทีมหรือสัญญาณเรียกขานพิเศษเพียงสัญญาณเรียกขานเดียวตลอดการแข่งขันและห้ามสมาชิกในทีมใช้สัญญาณเรียกขานตัวเองติดต่อกับ สถานีอื่น ๆ ตลอดการแข่งขัน
    การแข่งขันประเภทนี้ต้องใช้เครื่องออกอากาศเพียงเครื่องเดียวเท่านั้นและ ต้องออกอากาศความถี่เดียวในเวลาเดียวกันเท่านั้น สถานีที่ใช้ออกอากาศต้องเป็นสถานีเดียวตลอดการแข่งขัน (ห้ามออกอากาศหลายความถี่ในเวลาเดียวกัน)

สิ่งแลกเปลี่ยนในการแข่งขัน ( Exchange)

ในขณะแข่งขันต้องพูดยังไงบ้างอันนี้มห้คนที่จะลงแข่งศึกษาให้ดีๆ เพราะเป็นรายการระดับโลก สิ่งแลกเปลี่ยนในการแข่งขัน ได้แก่ สัญญาณเรียกขาน , RST และ Grid Locator เท่านั้น (ให้ใช้ Grid Locator 4 ตัว เช่น OK14, NJ98 เป็นต้น)  ไม่อนุญาตให้บอกชื่อ ตำบล อำเภอ และจังหวัด ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นไป

ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ให้สอบถามที่เว็บบอร์ดร้อยวัตต์ http://www.100watts.com/smf/index.php?board=46.0 หรือ http://www.cqww-vhf.com/ ครับผม

ตัวอย่างใบประกาศฯ CQ World Wide VHF Contest
ตัวอย่างใบประกาศฯ CQ World Wide VHF Contest

เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมสถานีให้พร้อมแสดงความสามารถให้ต่างชาติได้รู้ว่านักวิทยุสมัครเล่นไทยเก่งๆ ก็มีเหมือนกัน

สำหรับปีนี้ CQ World Wide VHF Contest 2014

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *